ใส่แล้วเมื่อยตา งงหัว[AT001]

ใส่แล้วเมื่อยตา งงหัว

eyestress2

คุณอนันต์ อายุ 28 ปี เคยตัดแว่นจากที่ร้าน เข้ามาปรึกษาบอกว่าแว่นตาอันใหม่ที่ตัดจากร้านอื่นใส่ไม่สบาย ทำงานคอมพิวเตอร์ได้สักพักจะมีอาการเมื่อยล้าดวงตา ถ้าใช้แว่นนานกว่า 2 ชั่วโมงจะมีอาการปวดตา เนื่องจากคุณอนันต์ต้องย้ายที่ทำงานไปต่างจังหวัด จึงไม่สะดวกที่จะมาตัดที่ร้านหมอแว่น ทางร้านจึงขอนำแว่นอันใหม่มาวัดและตรวจสายตา ประกอบแว่นให้ตามปกติ

หลังจากวัดสายตาให้คุณอนันต์แล้ว และเทียบกับแว่นตาอันที่ใส่แล้วมีปัญหา ปรากฏว่าค่าสายตาของแว่นไม่ตรงกับค่าสายตาของคุณอนันต์ โดยแว่นที่มีปัญหาให้สายตาสั้นมากเกินไป และเอียงน้อยเกินไปด้วย ทางร้านจึงตัดแว่นใหม่ให้

หลังจากที่คุณอนันต์รับแว่นใหม่ที่ทางหมอแว่นตัดให้ไปใช้ อาการปวดตาเมื่อยตาก็หายไปและกลับมาใช้คอมพิวเตอร์ได้วันละหลายชั่วโมงตามปกติ  อนึ่ง แว่นตาที่ใส่แล้วมองเห็นชัดอาจไม่ใช่แว่นที่ใส่แล้วสบายตาเสมอไป ดังนั้นแว่นที่ใส่แล้วชัด จึงอาจเป็นแว่นที่ใส่แล้วสบายตาหรือไม่ก็ได้ แต่แว่นที่ดี จะต้องให้ทั้งความชัดเจนและความสบายตา

อนึ่ง ค่าพารามิเตอร์ของแว่นที่จะทำให้คุณอนันต์เห็นได้ชัดเจน อาจมีถึงหลายร้อยค่า แต่ค่าเหล่านั้นอาจจะมีเพียงค่าเดียวที่ดีที่สุด ซึ่งการหาค่าดังกล่าวต้องเกิดจากการวัดสายตาได้อย่างแม่นยำ ประสบการณ์ในการจ่ายเลนส์ และการประกอบแว่นให้ได้ตรงตามพารามิเตอร์ ยกตัวอย่างค่าสายตาที่คุณอนันต์บอกว่ามีความชัดเจนดีไม่แตกต่างกันสองค่าคือ  ตาขวา -4.00 -3.00 x 175  PD 31 ตาซ้าย -4.50 -2.50 x 16 PD 30.5 กับ ตาขวา -5.00 – 1.75 x 170 PD 33   ตาซ้าย -5.50 – 1.50 x 12 PD 32.5  ดังนั้น จากทฤษฏีความน่าจะเป็นแล้ว ได้ค่าสายตาที่เป็นไปได้ทั้งหมด = ความเป็นไปได้ทั้งหมดของค่าสายตาในตาขวา x ความเป็นไปได้ทั้งหมดของค่าสายตาในตาซ้าย คือ (5 x 6 x 6 x 5) x (5 x 5 x 5 x 5)= 562,500 ค่าสายตา ซึ่งค่าดังกล่าวยังไม่รวมถึงค่าพารามิเตอร์อื่นๆอีกหลายค่าเช่น ค่าความโค้งหน้าแว่น ค่า Base Curveของเลนส์ ค่ามุมเทของแว่น และการเลือกรุ่นเลนส์ ฯลฯ ดังนั้น การที่จะหาค่าของแว่นสายตาที่เหมาะสมที่สุดในพารามิเตอร์มากมายนี้ ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์อย่างสูง กล่าวได้ว่าการประกอบแว่นตาถือเป็นเป็นศิลปแขนงหนึ่ง เนื่องจากค่าสายตาที่วัดได้ส่วนใหญ่จะไม่ตรงกับค่าสายตาที่จ่าย โดยในปัจจุบันมีการสอบใบประกอบโรคศิลปะเฉพาะสำหรับนักทัศนมาตรด้วย